วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ต้องขอขอบคุณเพื่อนๆทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมชมน้ะครับ ที่สละเวลาอันมีค่าของท่านเข้ามาชมเว็ปไซด์ของผมขอบคุณมากมายครับผม

อาจจะเป็นรักโง่โง่


เดาไปเรื่อย



เหนื่อยก้อพัก




รักหมดใจ



มั่วกันเข้าไป



ยังไงก้อรัก



จัดหนัก




สุดท้ายนี้โอกาศหน้ากระผมจะนำแบบอัลบั้มเต็มมาให้ทุกท่านได้ชมกัน อดใจรอนิดนึงน้ะครับผม ขอขอบคุณครับโผมมมมม



วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

เดี่ยวนี้เรียนจบแล้ว ใช่ว่าจะเป็นวิศวกรกันได้เลย หยั่งง่ายๆเหมือนแต่ก่อน

ก็ต้องไปสอบให้ผ่านก่อน น๊ะจ๊ะ ลายละเอียดดังนี้ครับผม

การขอรับใบอนุญาตฯ ระดับภาคีวิศวกร ปี พ.ศ. 2552 ต้องทดสอบความรู้ทางวิศวกรรม

1. จบจากหลักสูตรและสถาบันการศึกษาที่ผ่านการรับรองจากสภาวิศวกร
2. ได้เรียนในหลักสูตร โดยมีรายวิชาและหน่วยกิตตามที่คณะกรรมการสภาวิศวกรกำหนด
3. ต้องผ่านการสอบในหมวดวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมและหมวดวิชาเฉพาะทางวิศวกรรมซึ่งจัดสอบโดยสภาวิศวกร
4. ต้องผ่านการอบรมและทดสอบความพร้อมในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม    
         
หลักเกณฑ์ใหม่ที่เพิ่มขึ้นมา ในปี 2552 คือ ทุกคนต้องเข้าทดสอบความรู้ทางวิศวกรรม ก่อน ซึ่ง ข้อสอบเป็นแบบปรนัย รายวิชาและเกณฑ์การสอบเป็นไปตามที่แนบมา ขณะนี้มีข้อสอบอยู่ในคลังข้อสอบ 107 วิชาๆ ละประมาณ 400 ข้อ ได้เปิดเผยพร้อมคำตอบที่ถูกต้อง ซึ่งทางสภาวิศวกร ได้นำเข้าไว้ในเว็บไซต์ สภาวิศวกร ( Website: http://www.coe.or.th) เรียบร้อยแล้ว ท่านใดมีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข้อสอบข้อใด กรุณาแจ้งให้ทางสภาวิศวกรทราบ ด้วย โดยท่านสามารถแสดงความเห็นในข้อสอบข้อนั้นๆ ได้บนเว็บไซต์เลย จะขอบพระคุณอย่างยิ่ง

1. หมวดวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม จำนวน 4 วิชา ประกอบด้วย    
   1.1 วิชา Engineering Drawing
  1.2 วิชา Engineering Mechanics-Statics
  1.3 วิชา Engineering Materials
  1.4 วิชา Computer Programming
   
          ผู้เข้าสอบต้องสอบทั้ง 4 วิชา วิชาละ 25 ข้อ รวม 100 ข้อ (คะแนนแต่ละข้อเท่ากัน)    
                    
2. หมวดวิชาเฉพาะทางวิศวกรรม ประกอบด้วยวิชาจาก 7 สาขาวิศวกรรมควบคุม ดังนี้    
  2.1 สาขาวิศวกรรมโยธา แบ่งเป็น 8 กลุ่มวิชา มีจำนวนวิชารวม 15 วิชา ได้แก่    
          1. Structures
       1.1. Theory of Structures
       1.2. Structural Analysis

     2. Structural Design
       2.1. Reinforced Concrete Design
       2.2. Timber and Steel Design

     3. Soil Mechanics
       3.1. Soil Mechanics

     4. Highway Engineering
       4.1. Highway Engineering

     5. Hydraulic Engineering
       5.1. Hydraulic Engineering

     6. Water Supply Engineering
       6.1.Water Supply and Sanitary Engineering
       6.2.Water Supply Engineering and Design

     7. Survey Engineering
       7.1.Surveying
       7.2.Route Surveying
       7.3.Photogrammetry

    8. Construction
      8.1.Construction Management
      8.2.Environmental Systems and Management
      8.3.Civil Engineering Materials

ผู้เข้าสอบต้องสอบ 4 กลุ่มวิชา จาก 8 กลุ่มวิชา โดยบังคับสอบในกลุ่มวิชาที่ 1 ถึง 3 และสามารถเลือกสอบได้เพียง 1 กลุ่มวิชาจากกลุ่มวิชาที่ 4 ถึง 8 สอบกลุ่มวิชาละ 25 ข้อ รวม 100 ข้อ (คะแนนแต่ละข้อเท่ากัน)    
                    
 2.2 สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จำนวน 16 วิชา ประกอบด้วย    
         2.2.1 แขนงวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง มี 8 วิชา ได้แก่    
       1. วิชา Electrical Instruments and Measurements
         2. วิชา Electrical Machines
         3. วิชา Electrical System Design
         4. วิชา Power Plant and Substation
         5. วิชา Protection and Relay
         6. วิชา Electric Power System Analysis
         7. วิชา High Voltage Engineering
         8. วิชา Power Electronics
ผู้เข้าสอบสามารถเลือกสอบ 4 วิชา จาก 8 วิชา สอบวิชาละ 25 ข้อ รวม 100 ข้อ (คะแนน แต่ละข้อเท่ากัน)
   
                    
     2.2.2 แขนงวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร มี 8 วิชา ได้แก่    
     1. วิชา Electrical Instruments and Measurements
        2. วิชา Microwave Engineering
        3. วิชา Communication Network and Transmission Lines
        4. วิชา Data Communication and Network
        5. วิชา Optical Communication
        6. วิชา Digital Communication
        7. วิชา Antenna Engineering
        8. วิชา Radio – Wave Propagation
ผู้เข้าสอบสามารถเลือกสอบ 4 วิชาจาก 8 วิชา สอบวิชาละ 25 ข้อ รวม 100 ข้อ (คะแนน   แต่ละข้อเท่ากัน)    
                    
     2.3 สาขาวิศวกรรมเครื่องกล แบ่งเป็น 8 กลุ่มวิชา มีจำนวนวิชารวม 24 วิชา ประกอบด้วย    
               กลุ่มวิชาเลือก 1
        1.1 Mechanics of Machinery/ Dynamics of Machines /Theory of Machines
        1.2 Ship Dynamics
        1.3 Dynamics of Vehicles
        1.4 Mechanics of Flight
        1.5 Theory of Agricultural Machines

กลุ่มวิชาเลือก 2
     2.1 Machine Design / Mechanical Design
     2.2 Ship Design
     2.3 Aircraft Design
     2.4 Agricultural Machinery Design

กลุ่มวิชาเลือก 3
     3.1 Automatic Control
     3.2 Digital Control
     3.3 Automotive Control
     3.4 Fluid Power Control

กลุ่มวิชาเลือก 4
     4.1 Mechanical Vibration/ Vibration Control

กลุ่มวิชาเลือก 5
     5.1 Internal Combustion Engines
     5.2 Combustion

กลุ่มวิชาเลือก 6
     6.1 Air Conditioning
     6.2 Refrigeration/Freezing/Cold Storage

กลุ่มวิชาเลือก 7
     7.1 Heat Transfer
     7.2 Thermal System Design

กลุ่มวิชาเลือก 8
     8.1 Power Plant Engineering
     8.2 Ship Propulsion and Engines
     8.3 Aircraft Power Plant
     8.4 Power for Agricultural Systems

ผู้เข้าสอบเลือกสอบ 4 กลุ่มวิชา จาก 8 กลุ่มวิชา และแต่ละกลุ่มเลือกสอบเพียง 1 วิชา      วิชาละ 25 ข้อ รวม 100 ข้อ (คะแนนแต่ละข้อเท่ากัน)    
                    
               2.4 สาขาวิศวกรรม อุตสาหการ มี 8 วิชา ประกอบด้วย    
                    1. วิชา Industrial Work Study
     2. วิชา Operations Research
     3. วิชา Production Planning and Control
     4. วิชา Quality Control
     5. วิชา Industrial Plant Design
     6. วิชา Safety Engineering
     7. วิชา Maintenance Engineering
     8. วิชา Engineering Economy

ผู้เข้าสอบสามารถเลือกสอบ 4 วิชาจาก 8 วิชา สอบวิชาละ 25 ข้อ รวม 100 ข้อ (คะแนนแต่ละข้อเท่ากัน)
   
                    
               2.5 สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ มี 16 วิชา ประกอบด้วย    
               2.5.1 แขนงวิศวกรรมเหมืองแร่ มี 8 วิชา ได้แก่    
                    1. Surface Mining and Mine Design
     2. Underground Mining and Mine Design
     3. Mine Economics
     4. Geotechniques
     5. Chemistry of Materials
     6. Mineral Processing I
     7. Mineral Processing II
     8. Mine Planning and Design

ผู้เข้าสอบสามารถเลือกสอบ 4 วิชาจาก 8 วิชา สอบวิชาละ 25 ข้อ รวม 100 ข้อ (คะแนนแต่ละข้อเท่ากัน)    
                    
               2.5.2 แขนงวิศวกรรมโลหการ มี 8 วิชา ได้แก่    
                    1. Chemical Metallurgy
     2. Mechanical Behaviour of Materials
     3. Failure Analysis
     4. Physical Metallurgy
     5. Materials Characterization
     6. Metal Forming
     7. Metallurgy of Metal Joining
     8. Corrosion of Metals ผู้เข้าสอบสามารถเลือกสอบ 4 วิชาจาก 8 วิชา สอบวิชาละ 25 ข้อ รวม 100 ข้อ (คะแนนแต่ละข้อเท่ากัน)    
                    
               2.6 สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (เคมี)    
               กลุ่มวิชาที่ 1
     1.1   Chemical Engineering Kinetics and Reactor Design

กลุ่มวิชาที่ 2
     2.1   Chemical Engineering Principles and Calculations

กลุ่มวิชาที่ 3
     3.1   Process Dynamics and Control

กลุ่มวิชาที่ 4
     4.1   Unit Operations I
     4.2   Unit Operations II
     4.3   Unit Operations III

กลุ่มวิชาที่ 5
     5.1   Chemical Engineering Plant Design I
     5.2   Chemical Engineering Plant Design II

กลุ่มวิชาที่ 6
     6.1   Safety in Chemical Operations
     6.2   Environmental Chemical Engineering

กลุ่มวิชาที่ 7
     7.1  Engineering Economy
     7.2  Chemical Engineering Economics and Cost Estimation

กลุ่มวิชาที่ 8
     8.1  Chemical Engineering Thermodynamics

ผู้ ขอรับใบอนุญาตสามารถเลือกสอบข้อเขียนใน 4 กลุ่มวิชาจาก 8 กลุ่มวิชา และแต่ละกลุ่มเลือกสอบข้อเขียนเพียง 1 วิชา สอบข้อเขียนวิชาละ 25 ข้อ รวม 100 ข้อ (คะแนน แต่ละข้อเท่ากัน)
   
                    
               2.7 สาขาวิศวกรรมโยธา(สิ่งแวดล้อม) แบ่งเป็น 4 กลุ่มวิชา มีจำนวนวิชารวม 11 วิชา ได้แก่    
               กลุ่มวิชาที่ 1
     1.1 Water Supply Engineering, Water Works Design and Advanced Water Treatment
     1.2 Wastewater Engineering, Wastewater Engineering Design, Industrial Water Pollution Control and Advanced Wastewater Treatment
     1.3 Building Sanitation and Design of Sewerage
     1.4 Environmental Unit Operation and Environmental Unit Processes

กลุ่มวิชาที่ 2
     2.1 Air Pollution Control and Design of Air Pollution Control System
     2.2 Noise and Vibration Control

กลุ่มวิชาที่ 3
     3.1 Solid Waste Engineering
     3.2 Hazardous Waste Management

กลุ่มวิชาที่ 4
     4.1   Environmental System and Management
     4.2   Environmental Impact Assessment
     4.3   Environmental Health Engineering, Industrial Safety Management and Environmental Law

ผู้ขอรับใบอนุญาตสามารถเลือกสอบข้อเขียนใน 1 วิชาของแต่ละกลุ่มวิชา รวมเป็น 4 วิชา  สอบข้อเขียนวิชาละ 25 ข้อ รวม 100 ข้อ (คะแนนแต่ละข้อเท่ากัน)    
                    
                    
          ข. หลักเกณฑ์และวิธีการสอบ    
          1.    ผู้ มีสิทธิสอบจะต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร ว่าด้วย คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้ารับการทดสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกร พ.ศ. 2549    
          2.    อัตราค่าสมัครสอบ ครั้งละ 1,500 บาท โดยการสอบหนึ่งครั้ง หมายความว่า สอบทั้ง 2 หมวดวิชา หรือสอบเฉพาะหมวดวิชาใด หมวดวิชาหนึ่ง    
          3.    สภาวิศวกรสงวนสิทธิ์ในการขอเลื่อนสอบและการคืนค่าสมัครสอบในทุกกรณี    
          4.    ผู้เข้าสอบจะทราบรอบการสอบได้ ภายหลังจากการสมัคร 1 สัปดาห์    
          5.    ในแต่ละหมวดวิชา มีจำนวนข้อสอบวิชาละ 25 ข้อ จำนวน 4 วิชา รวมทั้งหมด 100 ข้อ ประกอบด้วย
5.1 การสอบหมวดวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมใช้เวลา 3 ชั่วโมง จัดสอบในช่วงเช้า (9.00-12.00 น.)
5.2 การสอบหมวดวิชาเฉพาะทางวิศวกรรมใช้เวลา 3 ชั่วโมง จัดสอบในช่วงบ่าย (13.30-16.30 น.)
คะแนนแต่ละข้อเท่ากับ 1 คะแนน ข้อที่ไม่ตอบหรือตอบผิดได้คะแนนเท่ากับศูนย์ โดยผู้เข้าสอบจะต้องได้คะแนนในแต่ละหมวดวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบ จึงจะถือว่าเป็นผู้สอบผ่าน    
          6.    ห้าม ผู้เข้าสอบนำตำราหรือเอกสารอ้างอิงต่างๆ เข้าห้องสอบ โดยสภาวิศวกรจะเตรียมตารางมาตรฐานไว้ในห้องสอบ และให้ใช้เครื่องคำนวณธรรมดาที่มีฟังก์ชันเสริมทางเรขาคณิตเท่านั้น  สำหรับเครื่องคำนวณที่สามารถบรรจุโปรแกรมตัวอักษร ไม่อนุญาตให้นำเข้าห้องสอบ
   
          7.    ผู้เข้าสอบจะต้องแสดงบัตรสมาชิกสภาวิศวกร หรือบัตรประจำตัวประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ในวันสอบ เพื่อลงทะเบียนเข้าสอบและรับรหัสผ่าน
   
          8.    ผู้ เข้าสอบจะต้องแต่งกายสุภาพ (โดยห้ามสวมใส่ชุดสีไม่สุภาพ เสื้อไม่มีปก  กางเกงขาสั้น  และรองเท้าแตะ เป็นต้น) หากฝ่าฝืนจะไม่อนุญาตให้เข้าห้องสอบ และต้องปิดอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดเมื่อเข้าห้องสอบ
   
          9.   ห้ามผู้เข้าสอบเข้าห้องสอบช้าเกินกว่า 30 นาที และห้ามออกจากห้องสอบก่อน 60 นาที
   
          10. หาก ผู้เข้าสอบทุจริตในการสอบให้ปรับตกทุกวิชา และห้ามสมัครสอบในครั้งต่อไปอีกจำนวน 6 เดือน  ทั้งนี้ ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกรรมการผู้คุมสอบ
   
          1.1.ระบบ จะแสดงผลการทดสอบทันทีหลังจากการสอบเสร็จสิ้นแล้ว โดยผลการสอบจะแสดงผลเป็นเปอร์เซ็นต์ สำหรับผลการพิจารณาผ่านหรือไม่ผ่านนั้น สภาวิศวกรจะแจ้งอย่างเป็นทางการ ภายหลังจากการอนุมัติผลสอบจากคณะกรรมการสภาวิศวกร
   
          1.2.สภาวิศวกรจะประกาศผลการสอบภายหลังจากวันประชุมคณะกรรมการสภาวิศวกรโดยปิดประกาศ ณ สำนักงานสภาวิศวกร และระบบสารสนเทศของสภาวิศวกร
   
          13.สภา วิศวกรจะเก็บผลการสอบของผู้ที่สอบผ่านแล้วในแต่ละหมวดวิชาไว้เป็นระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการสภาวิศวกร หากภายใน 2 ปี ผู้เข้าสอบ    ไม่สามารถสอบผ่านทั้ง 2 หมวดวิชา สภาวิศวกรจะยกเลิกผลที่สอบผ่านแล้วทั้งหมด
    ข้อมูลจาก : 
http://www.eng.buu.ac.th

กิจกรรมสันทนาการ




ข้อมูลจาก youtude




วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554


คณะวิศวกรรมศาสตร์ มมส จัดโครงการประชุมวิชาการ STISWB III

พิมพ์
PDF
DSC_0582
DSC_0333_3414
เมื่อวันที่ 12 – 15 สิงหาคม 2554 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการประชุมวิชาการ STISWB III ณ ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ภายใต้ชื่อ The Third International Conference Sciences, Technology and Innovation for Sustainable Well Being (STISWB III) โดยได้รับความร่วมมือระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ และมหาวิทยาลัยDanang ประเทศเวียดนาม ในการนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มมส โดยการนำของ ศาสตราจารย์ดร.ประดิษฐ์ เทอดทูล คณบดี พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารคณะ ได้นำคณาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน และนิสิต เข้าร่วมโครงการดังกล่าว นอกเหนือจากการประชุมวิชาการที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้คณาจารย์ และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ได้มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ ตลอดจนครอบคุลมภารกิจตัวชี้วัดของงานด้านประกันคุณภาพ และคำรับรองปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2554 แล้ว ทั้ง 3 สถาบันยังได้จัดให้มีโครงการศิลปวัฒนธรรมนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา และโครงการแข่งขันกีฬาบุคลากรและนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา  ณ มหาวิทยาลัย Danang ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

สโมสรนิสิตวิศวกรรมศาสตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มมส จัดพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2554

พิมพ์
PDF
img_4765
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 255ที่ผ่านมา สโมสรนิสิตวิศวกรรมศาสตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2554 ขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงบุญคุณของครูและแสดงตนเป็นศิษย์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. สัมพันธ์ ฤทธิเดช ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์เป็นประธานในพิธีและให้เกียรติ์ในการเจิมหนังสือที่คณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้แต่งขึ้นพร้อมให้โอวาทแก่นิสิต รวมทั้งมอบเกียรติบัตรให้แก่สโมสรนิสิตที่ช่วยเหลือกิจกรรมของคณะ ในพิธีดังกล่าวมีคณาจารย์และนิสิตเข้าร่วมในพิธีอย่างพร้อมเพรียง ณ ห้องประชุม EN-217 คณะวิศวกรรมศาสตร์
img_4770

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มมส จัดโครงการอบรมสัมมนา “การพัฒนาศักยภาพการทำงานเป็นทีมและคุณภาพอย่างสร้างสรรค์”

พิมพ์
PDF
dsc_0112
dsc_0107
เมื่อวันที่ 13 – 16 กรกฎาคม 2554 สำนักงานเลขานุการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยการนำของ ศาสตราจารย์ดร.ประดิษฐ์ เทอดทูล คณบดี พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.ธีรยุทธ ชาติชนะยืนยง รองคณบดีฝ่ายบริหารและวางแผน และคุณวิรายา ภมรสมิต หัวหน้าสำนักเลขานุการ จัดโครงการอบรมสัมมนา “การพัฒนาศักยภาพการทำงานเป็นทีมและคุณภาพอย่างสร้างสรรค์” ของบุคลากรสายสนับสนุน คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยแบ่งการอบรมเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงแรกวันที่ 13 กรกฎาคม 2554 ได้จัดให้มีการถ่ายทอดการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนแต่ละสายงาน และการจัดทำแผนพัฒนาตนเอง โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา เป็นวิทยากรในครั้งนี้ ณ ห้องประชุม EN – 204
และในช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 14 -16 กรกฎาคม 2554 ทางคณะผู้บริหารและกลุ่มบุคลากรได้เดินทางไปสัมมนายังจังหวัดชลบุรี เพื่อเข้าร่วมรับฟังการบรรยายในหัวข้อ “การสร้างสัมพันธภาพ ที่ประทับใจและการเข้าใจสาเหตุแห่งปัญหาและธรรมชาติของมนุษย์เพื่อการทำงานที่มีความสุข” รวมถึง การพัฒนาศักยภาพการทำงานเป็นทีม โดยมี ผศ.ชัยวัฒน์ วงอาษา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจกรรมพิเศษ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ เป็นวิทยากร ณ โรงแรม ลองบีช การ์เด้น โฮเทล แอนด์ สปา พัทยา จังหวัดชลบุรี โดยการอบรมในครั้งนี้สร้างความประทับใจ และทำให้ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจถึงสาเหตุแห่งปัญหาของมนุษย์และการเข้าใจของมนุษย์ ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตครอบครับและการทำงานได้เป็นอย่างดี

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มมส ต้อนรับคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2554

พิมพ์
PDF
IMG_0210
ศาสตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ เทอดทูล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมคณาจารย์ บุคลากร และนิสิต ต้อนรับคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา  2554 ซึ่งคณะกรรมการ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.วนิดา แก่นอากาศ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ภู่พัฒน์วิบูลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และรองศาสตราจารย์ วิรัตน์ พงษ์ศิริ คณบดี คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ณ ห้องประชุม EN-204 วิศวกรรมศาสตร์ วันที่ 15 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา

ที่มา :

http://www.stiswb.msu.ac.th/