วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

EN.MSU




.Settings_24x24.ปรัชญา


สร้างสรรค์ยอดบัณฑิต      สมนามสิทธิ์"ตักสิลา"
งานวิจัยให้ก้าวหน้า          ใส่ใจหาทรัพย์มนุษย์

.Settings_24x24.วิสัยทัศน์

.............คณะวิศวกรรมศาสตร์ มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ คิดเป็น ทำได้ใฝ่คุณธรรม ก้าวทันเทคโนโลยีและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศด้านวิจัยบริการวิชาการ  เพื่อตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติ  

.Settings_24x24.พันธกิจ

.........................คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีพันธกิจในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของ.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยจัดระบบการศึกษาแบบหลากหลายและใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล ส่งเสริมการวิจัยที่สร้างองค์ความรู้ใหม่และการวิจัยที่สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เพื่อนำไปสู่ความสามารถเชิงการแข่งขัน  การบริการที่สอดคล้องกับการส่งเสริมพัฒนาประเทศ

.Settings_24x24.คำนิยมองค์กร

..............................................Faculty...........Of............Engineering
.....................................................................................Educational   Research
........................................................................Opening   Mind
...............................................Family   of   Inspiration

ประวัติและความเป็นมาของวิศวกรรมโยธาแห่งเมืองตักศิลา








.Settings_24x24.ความเป็นมา
...................คณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับการจัดตั้งเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตามมิติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย...ครั้งที่ 3/2542...เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2542..ต่อมาเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์  2548 ได้รับการเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปรับปรุงระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสาคาม ว่าด้วยคณะวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2548 โดยได้รับการจัดตั้งเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์มีหน้าที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยไม่เป็นส่วนราชการมีหน้าที่จัดการศึกษาทำนองเดียวกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดำเนินงานในรูปแบบการบริหารที่เน้นความคล่องตัว มีประสิทธิภาพและพึ่งตนเองใ้ห้มากที่สุด

.Settings_24x24.ทำเนียบคณบดี
.
.......................  ปี 2542 -  2544  ศาสตราจารย์ ดร.กิตติ   อินทรานนท์  ซึ่งเป็นคณบดีคนแรกของคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ชื่อเดิม)
.....................ปี 2544 -  2549  ศาสตราจารย์ ดร.สมชาย  โสภณรณฤทธิ์  ราชบัณฑิต
.....................ปี 2549 -  ปัจจุบัน  ศาสตราจารย์  ดร.ประดิษฐ์   เทอดทูล

.Settings_24x24.ที่ตั้ง
                  คณะวิศวะกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย 
จังหวัดมหาสารคาม ในพื้นที่ 15,000 ตารางเมตร โทรศัพท์ : 0-4375-4321 – 40 ต่อ 3011 – 3015
โทรสาร : 0-4375-4316 โฮมเพจ : http://www.engineer.msu.ac.th
.Settings_24x24.สีประจำคณะ
 
สีแดงเลือดหมู

.Settings_24x24.สัญลักษณ์คณะวิศวกรรมศาสตร์
logo_engEdit

หลักสูตรการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 เปิดสอนในระดับปริญญาตรี 7 สาขา ได้แก่



dsc_0067

 เปิดสอนในระดับปริญญาโท 3 สาขา ได้แก่


dsc_0339

 เปิดสอนในระดับปริญญาเอก 3 สาขา ได้แก่


dsc_0315
ข้อมูลจาก : http://www.stiswb.msu.ac.th/

บทบาทวิศวกรโยธาในด้านต่างๆ



วิศวกรโยธา   หากจะกล่าวถึงคำว่า วิศวกรโยธา ก็จะต้องนึกภาพถึงบุคคลผู้หนึ่งซึ่งใส่หมวกนิรภัยเดินถือกระดาษม้วนใหญ่ ในบริเวณไซต์งานก่อสร้าง แต่ในความเป็นจริงแล้ว วิศวกรโยธา สามารถที่จะทำงานได้หลายๆด้าน เช่น

วิศวกรโยธาที่ทำหน้าที่ออกแบบโครงสร้าง

วิศวกรโยธาที่ทำหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้าง

วิศวกรโยธาที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการก่อสร้าง

วิศวกรโยธาที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการทดสอบวัสดุ

ฯลฯ

ซึ่งวิศวกรโยธา ทุกๆท่านที่กล่าวมา ต่างก็มีหน้าที่แตกต่างกันไปตามความรู้ความสามารถ วิศวกรโยธา แต่ละท่านต่างก็มีความถนัดในสายงานที่ต่างกัน วิศวกรโยธา บางท่านอาจจะออกแบบโครงสร้างเก่ง แต่วิศวกรโยธา บางท่านอาจจะมีความสามารถในการควบคุม วางแผน บริหารงานก่อสร้าง
แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ วิศวกรโยธา ทุกๆท่าน ต่างก็ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างสรรค์ระบบสาธารณูปโภคให้กับมวลมนุษยชาติเหมือนกันนั่นเอง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ในแต่ละปีการศึกษา เราจะเห็นน้องๆที่ใกล้จะสำเห็รการศึกษาระดับมัธยมปลาย หรือระดับ ปวช. ส่วนหนึ่งก็จะมองหาสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่มีการเรียนการสอนทางด้านวิศวกรรมโยธาอยู่ไม่น้อย ก็เนื่องจากว่าน้องๆว่าที่ วิศวกรโยธา เหล่านั้น ต่างก็มองเห็นความสำคัญของการศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธา และมองเห็นถึงความก้อวหน้าในการประกอบวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมโยธานั่นเอง


ตัวอย่างหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา



1 ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Civil Engineering
2 ชื่อปริญญา
ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา)
(ชื่อย่อ) : วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา)
ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) : Bachelor of Engineering (Civil Engineering)
(ชื่อย่อ) : B.Eng. (Civil Engineering)
3 หลักสูตร
3.1 จำนวนหน่วยกิต
3.1.1 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ปริญญาตรี ระบบปกติ  มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 150  หน่วยกิต
3.1.2 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ปริญญาตรี ระบบเทียบเข้ามีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 150 หน่วยกิต โดยเทียบกับหลักสูตร 4 ปี
3.2 โครงสร้างหลักสูตร
            มีโครงสร้างของหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชา ดังนี้

หมวดวิชาและกลุ่มวิชา

จำนวนหน่วยกิต


เกณฑ์ของทบวงฯ
หลักสูตร 4 ปี
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป      
ไม่น้อยกว่า 30
30
หมวดวิชาเฉพาะ                     
ไม่น้อยกว่า  84
114
-กลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์พื้นฐาน

24
-กลุ่มวิชาพื้นฐานเฉพาะด้าน

13
-กลุ่มวิชาเอก                           

77
  •     วิชาเอกบังคับ         

74
  •     วิชาเอกเลือก         

3
หมวดวิชาเลือกเสรี             
6
6
หมวดวิชาฝึกงาน  
ไม่มีหน่วยกิต
-
รวม    
ไม่น้อยกว่า 120
150
หมายเหตุ     หลักสูตรระบบเทียบเข้ามีรายวิชาเทียบโอนที่ไม่ต้องลงทะเบียนเรียน 25 หน่วยกิต
แสดงไว้ในหมายเหตุ ข้อ 3.4 แผนการศึกษา
3.3 รายวิชาในหลักสูตร
3.3.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
โดยที่นิสิตทุกคนจะต้องเรียนวิชาในกลุ่มบังคับหมวดวิชาศึกษาทั่วไปอย่างน้อย 12 หน่วยกิต และเลือกตามความสนใจและความเหมาะสมจากวิชาเลือกที่เปิดสอนอีกไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต เมื่อรวมแล้วต้องไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
3.3.2 หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 114 หน่วยกิต
3.3.2.1  กลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์พื้นฐาน กำหนดให้เรียน 24 หน่วยกิต
คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกร 1          3(3-0-6)
Mathematics for Engineers 1
คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกร 2          3(3-0-6)
Mathematics for Engineers 2
คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกร 3          3(3-0-6)
Mathematics for Engineers 3
สมการเชิงอนุพันธ์                         3(3-0-6)
Differential Equations
เคมีทั่วไป                                       3(3-0-6)
General Chemistry
ปฏิบัติการเคมีทั่วไป                      1(0-3-0)
General Chemistry Laboratory
ฟิสิกส์ 1                                        3(3-0-6)
Physics 1
ปฏิบัติการฟิสิกส์ 1                       1(0-3-0)
Physics Laboratory 1
ฟิสิกส์ 2                                        3(3-0-6)
Physics 2
ปฏิบัติการฟิสิกส์ 2                       1(0-3-0)
Physics Laboratory 2
3.3.2.2   กลุ่มวิชาพื้นฐานเฉพาะด้าน กำหนดให้เรียน 13 หน่วยกิต

โปรแกรมคอมพิวเตอร์
3(2-3-4)

Computer Programming


การฝึกปฏิบัติงานในโรงงานวิศวกรรม 
1(0-3-0)

Engineering Workshop Practice


สถิตศาสตร์              
3(3-0-6)

Statics


วัสดุวิศวกรรม
3(3-0-6)

Engineering Materials


การเขียนแบบกราฟฟิก   
3(2-6-4)

Graphic Drawing

3.3.2.3   กลุ่มวิชาเอก กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 77 หน่วยกิต วิชาเอกบังคับ กำหนดให้เรียน 74 หน่วยกิต
 
ปฏิบัติการวิศวกรรมโยธา
1(0-3-0)

Civil Engineering Workshop


วัสดุก่อสร้าง
3(3-0-6)

Construction Materials


ปฏิบัติการวัสดุก่อสร้าง
1(0-3-0)

Construction Materials Laboratory


กำลังวัสดุ
3(3-0-6)

Strength of Materials


ทฤษฎีโครงสร้าง
3(3-0-6)

Structural Theory


อุทกวิทยา
3(3-3-6)

Hydrology


การสำรวจ
3(3-0-6)

Surveying


ปฏิบัติการสำรวจ
1(0-3-0)

Surveying Laboratory


การสำรวจภาคสนาม
1(0-6-4)*

Field Survey


วิศวกรรมไฟฟ้าและแสงสว่างภายในอาคารเบื้องต้น
2(2-0-4)

Introduction to Electrical Engineering and Illumination in Buildings


การวิเคราะห์โครงสร้าง
3(3-0-6)

Structural Analysis


การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก
4(3-2-8)

Reinforced Concrete Design


ชลศาสตร์
3(3-0-6)

Hydraulics


ปฏิบัติการชลศาสตร์
1(0-3-0)

Hydraulics Laboratory


วิศวกรรมชลศาสตร์
3(3-0-6)

Hydraulic Engineering


วิศวกรรมการทาง
3(3-0-6)

Highway Engineering


ปฏิบัติการวิศวกรรมการทาง
1(0-3-0)

Highway Engineering Laboratory


ปฐพีกลศาสตร์
3(3-0-6)

Soil Mechanics


ปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์
1(0-3-0)

Soil Mechanics Laboratory


วิศวกรรมฐานราก
3(3-0-6)

Foundation Engineering


การจัดการทางวิศวกรรม
3(3-0-6)

Engineering Management


คณิตศาสตร์ประยุกต์สำหรับวิศวกร
3(3-0-6)

Applied Mathematics for Engineers


การออกแบบอาคาร
3(3-0-6)

Building Design


การออกแบบคอนกรีตอัดแรง
3(3-0-6)

Prestressed Concrete Design


การออกแบบโครงสร้างไม้และโครงสร้างเหล็ก
3(3-0-6)

Timber and Steel Design


วิศวกรรมการประปาและสุขาภิบาล
3(3-0-6)

Water Supply and Sanitary Engineering


วิศวกรรมขนส่ง   
3(3-0-6)

Transportation Engineering


การจัดการการก่อสร้าง
3(3-0-6)

Construction Management


สัมมนาทางวิศวกรรมโยธา
1(0-3-0)*

Civil Engineering Seminar


โครงงานทางวิศวกรรมโยธา 1
1(0-3-0)

Civil Engineering Senior Project 1


โครงงานทางวิศวกรรมโยธา 2
2(0-6-0)

Civil Engineering Senior Project 2


วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น
2(2-0-4)

Introduction to Environmental Engineering

หมายเหตุ * เป็นรายวิชาบังคับแบบไม่นับหน่วยกิต มีผลการเรียนเป็น S/U
วิชาเอกเลือก ให้เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต จากรายวิชา ต่อไปนี้
 
โครงสร้างเหล็กขั้นสูง
3(3-0-6)

Advanced Steel Structures


คอนกรีตเทคโนโลยี
3(3-0-6)

Concrete Technology


การออกแบบสะพาน
3(3-0-6)

Bridge Design


วิศวกรรมแผ่นดินไหว
3(3-0-6)

Earthquake Engineering


วิศวกรรมชลประทานและการระบาย
3(3-0-6)

Irrigation and Drainage Engineering


อุทกวิทยา และ น้ำท่าในชุมชนเมือง
3(3-0-6)

Urban hydrology and stormwater


การจัดการทรัพยากรน้ำ
3(3-0-6)

Water Resources Management


ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เบื้องต้น
3(3-0-6)

Introduction to Geographic Information Systems


การสำรวจด้วยแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ
3(3-0-6)

Photogrammetry


การสำรวจเส้นทาง
3(3-0-6)

Route Surveying


วิศวกรรมการจราจร
3(3-0-6)

Traffic Engineering


การประมาณราคาและข้อกำหนดในงานก่อสร้าง
3(3-0-6)

Construction Estimating and Specifications


การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์กับงานวิศวกรรมโยธา
3(3-0-6)

Computer Applications for Civil Engineering


การเขียนโปรแกรมบนเว็ป
3(3-0-6)

Web Programming


วิศวกรรมขยะมูลฝอย
3(3-0-6)

Solid Waste Engineering


ระบบสิ่งแวดล้อมและการจัดการ
3(3-0-6)

Environmental Systems and Management


วิศวกรรมการประปาและการออกแบบ
3(3-0-6)

Water Supply Engineering and Design


วิศวกรรมการระบายน้ำเสียและน้ำฝน
3(3-0-6)

Wastewater and Rainstorm Drainage Engineering


การควบคุมมลพิษอากาศ
3(3-0-6)

Air Pollution Control


สุขาภิบาลอาคาร
3(3-0-6)

Building Sanitation


การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น
3(3-0-6)

Introduction to Environmental Impact Assessment

3.3.3       หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต นิสิตสามารถเลือกเรียนและสอบผ่านวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
3.3.4       หมวดวิชาฝึกงาน กำหนดให้มีการฝึกงานในภาคฤดูร้อนของปีการศึกษาที่ 3 ในสถานที่ที่ได้รับการอนุมัติจากคณะ โดยลงทะเบียนเรียน 3 หน่วยกิตวิชาบังคับแบบไม่นับหน่วยกิต  นิสิตต้องสอบผ่านกระบวนการฝึกงาน
            การฝึกงานทางวิศวกรรม  (Audit) 3(0-9-0) Practical Engineering Training

ข้อมูลจาก :    http://www.civilclub.org/
   
วิศวกรโยธา คืออะไร?

         งานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น อาคาร อาคารสูง ถนน สะพาน เขื่อน ท่าเรือ ท่าอากาศยาน อีกทั้งระบบสาธารณูปโภค ตลอดจนการวางผังเมือง ระบบการขนส่งสินค้าและมวลชนที่เหมาะสม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ 
         เป็นการศึกษาและประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์ เช่น กลศาสตร์และคุณสมบัติของวัสดุ เพื่อนำมาประกอบเป็นสิ่งก่อสร้างต่างๆ โดยสิ่งก่อสร้างนั้นต้องต้านทานแรงภายนอกและสิ่งแวดล้อมอื่นๆได้อย่างปลอดภัยและประหยัด

เรียนอะไรบ้าง ?

หมวดวิชาหลักทางวิศวกรรม และหมวดวิชาหลักทางวิศวกรรมโยธา

           สำหรับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิศวกรรมโยธาในปัจจุบันนั้นเป็นหลักสูตรปี พ.ศ. 2539 มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 141 หน่วยกิต ซึ่งจะขอกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของวิชาบังคับและวิชาเลือกของสาขาวิชาวิศกรรมโยธาจำนวน 77 หน่วยกิตเท่านั้น สำหรับรายวิชาในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปและรายวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมจะใกล้เคียงกันทุกภาควิชา ซึ่งหาดูได้จากหนังสือหลักสูตรสำหรับรายวิชาและเลือกบังคับของทางภาควิชานั้น สามารถสรุปได้คร่าวๆ ดังนี้
1. รายวิชาบังคับจำนวน 65 หน่วยกิต สามารถแยกได้เป็น 5 กลุ่มรายวิชาดังนี้

  • รายวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมโยธา และรายวิชาที่รับบริการจากทางภาควิชาอื่น (31 หน่วยกิต) ได้แก่วิชากำลังของวัสดุ, การทดสอบวัสดุ, เทคโนโลยีคอนกรีต, คณิตศาสตร์ประยุกต์และรายวิชาที่ให้บริการโดยภาควิชาแหล่งน้ำ, ภาควิชาสำรวจ และภาควิชาเหมืองแร่


  • กลุ่มวิชาวิศวกรรมโครงสร้าง (12 หน่วยกิต) เรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์และการคำนวณแบบโครงสร้างชนิดต่างๆ เพื่อความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยในการใช้งาน ได้แก่ วิชาการวิเคราะห์โครงสร้างและการออกแบบโครงสร้าง (คอนกรีต, ไม้ และเหล็ก)


  • กลุ่มวิชาวิศวกรรมปฐพี (7 หน่วยกิต) เรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติของดินและพฤติกรรมการรับน้ำหนักเพื่อใช้ในการออกแบบและการวิเคราะห์ฐานรากของสิ่งก่อสร้างชนิดต่างๆ ซึ่งในกลุ่มนี้ ได้แก่ วิชาปฐพีกลศาสตร์และวิชาปฐพีกลศาสตร์ประยุกต์


  • กลุ่มวิชาวิศวกรรมขนส่ง (6 หน่วยกิต) เรียนเกี่ยวกับการออกแบบ การวางแผนการก่อสร้างและการควบคุมงานถนน รวมไปถึงการจัดการงานถนน ระบบการขนส่งและการจราจรให้มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย ได้แก่ รายวิชาวิศวกรรมการทางและวิชาวัสดุการทาง


  • กลุ่มวิชาวิศวกรรมการก่อสร้าง (6 หน่วยกิต) เรียนเกี่ยวกับทฤษฎีและวิธีการในทางปฏิบัติของการบริหารโครงการก่อสร้างขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมไปถึง การประมาณและวิเคราะห์ราคาการก่อสร้าง ได้แก่ วิชาบริหารการก่อสร้างและวิชาการประมาณและวิเคราะห์ราคา


    2. รายวิชาเลือกบังคับ จำนวน 12 หน่วยกิต ได้แก่ รายวิชาซึ่งเป็นความรู้ขั้นสูงในสาขาต่างๆ ของวิศวกรรมโยธา เพื่อให้นิสิตที่สนใจสามารถเลือกเรียนได้ ตัวอย่างของวิชาในหมวดนี้ได้แก่ การออกแบบอาคาร การออกแบบสะพาน ธรณีเทคนิควิเคราะห์ วิศวกรรมขนส่งมวลชน การออกแบบสนามบิน เทคนิคการก่อสร้าง การวางแผนโครงการทางวิศวกรรมโยธา เป็นต้น นอกจากนี้ นิสิตสามารถเลือกเรียนจากรายวิชาที่เปิดสอนในภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ วิศวกรรมสำรวจและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เป็นรายวิชาเลือกบังคับได้ ซึ่งจะต้องเป็นไปตามประกาศของทางภาควิชาวิศวกรรมโยธา


    ตัวอย่างหัวข้อโครงงานทางวิศวกรรมโยธาในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา


  • พฤติกรรมของส่วนของโครงสร้างรับแรงดัดและแรงอัดเมื่อซ่อมแซมหรือเสริมกำลังด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์

  • ผลกระทบจากไฟที่มีต่อพฤติกรรมการรับแรงดัด และแรงเฉือนของโครงสร้างคานคอนกรีตเสริมเหล็ก

  • การพิจารณาการวิเคราะห์การออกแบบและการก่อสร้างสะพานพระราม 8

  • พฤติกรรมกำแพงกันดินเข็มพืดในการก่อสร้างฐานรากริมแม่น้ำเจ้าพระยา

  • การศึกษาพฤติกรรมการทรุดตัวของชั้นดินกรุงเทพมหานครจากการขุดเจาะ อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน

  • การเปลี่ยนแปลงอัตราการทรุดตัวของชั้นดินกรุงเทพฯ เนื่องจากการสูบน้ำบาดาล

  • การวิเคราะห์การควบคุมสัญญาณไฟจราจรด้วยวิธีควบคุมการจราจรเป็นพื้นที่

  • การจำลองสภาพการเดินรถประจำทางด้วยการจำลองการจราจร กรณีศึกษาบนถนนเพชรบุรี

  • การวิเคราะห์กระบวนการจัดจ้างงานก่อสร้างของงานราชการ

  • วิศวกรรมงานระบบและการประสานงานในงานก่อสร้างอาคารสูง

  • การศึกษาการจัดองค์กรและการควบคุมการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่


  • จบแล้วทำอะไร

    การประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรมโยธา

         หน่วยงานราชการ
  • กรมโยธาธิการ

  • กรมทางหลวง

  • สถาบันการศึกษา


  • ฯลฯ (หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง)
         หน่วยงานเอกชน

  • งานออกแบบ

  • งานรับเหมาก่อสร้าง

  • งานให้คำปรึกษา

  • งานส่วนตัว


  • ข้อมูลจาก