วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิศวกรโยธา คืออะไร?

         งานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น อาคาร อาคารสูง ถนน สะพาน เขื่อน ท่าเรือ ท่าอากาศยาน อีกทั้งระบบสาธารณูปโภค ตลอดจนการวางผังเมือง ระบบการขนส่งสินค้าและมวลชนที่เหมาะสม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ 
         เป็นการศึกษาและประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์ เช่น กลศาสตร์และคุณสมบัติของวัสดุ เพื่อนำมาประกอบเป็นสิ่งก่อสร้างต่างๆ โดยสิ่งก่อสร้างนั้นต้องต้านทานแรงภายนอกและสิ่งแวดล้อมอื่นๆได้อย่างปลอดภัยและประหยัด

เรียนอะไรบ้าง ?

หมวดวิชาหลักทางวิศวกรรม และหมวดวิชาหลักทางวิศวกรรมโยธา

           สำหรับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิศวกรรมโยธาในปัจจุบันนั้นเป็นหลักสูตรปี พ.ศ. 2539 มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 141 หน่วยกิต ซึ่งจะขอกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของวิชาบังคับและวิชาเลือกของสาขาวิชาวิศกรรมโยธาจำนวน 77 หน่วยกิตเท่านั้น สำหรับรายวิชาในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปและรายวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมจะใกล้เคียงกันทุกภาควิชา ซึ่งหาดูได้จากหนังสือหลักสูตรสำหรับรายวิชาและเลือกบังคับของทางภาควิชานั้น สามารถสรุปได้คร่าวๆ ดังนี้
1. รายวิชาบังคับจำนวน 65 หน่วยกิต สามารถแยกได้เป็น 5 กลุ่มรายวิชาดังนี้

  • รายวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมโยธา และรายวิชาที่รับบริการจากทางภาควิชาอื่น (31 หน่วยกิต) ได้แก่วิชากำลังของวัสดุ, การทดสอบวัสดุ, เทคโนโลยีคอนกรีต, คณิตศาสตร์ประยุกต์และรายวิชาที่ให้บริการโดยภาควิชาแหล่งน้ำ, ภาควิชาสำรวจ และภาควิชาเหมืองแร่


  • กลุ่มวิชาวิศวกรรมโครงสร้าง (12 หน่วยกิต) เรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์และการคำนวณแบบโครงสร้างชนิดต่างๆ เพื่อความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยในการใช้งาน ได้แก่ วิชาการวิเคราะห์โครงสร้างและการออกแบบโครงสร้าง (คอนกรีต, ไม้ และเหล็ก)


  • กลุ่มวิชาวิศวกรรมปฐพี (7 หน่วยกิต) เรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติของดินและพฤติกรรมการรับน้ำหนักเพื่อใช้ในการออกแบบและการวิเคราะห์ฐานรากของสิ่งก่อสร้างชนิดต่างๆ ซึ่งในกลุ่มนี้ ได้แก่ วิชาปฐพีกลศาสตร์และวิชาปฐพีกลศาสตร์ประยุกต์


  • กลุ่มวิชาวิศวกรรมขนส่ง (6 หน่วยกิต) เรียนเกี่ยวกับการออกแบบ การวางแผนการก่อสร้างและการควบคุมงานถนน รวมไปถึงการจัดการงานถนน ระบบการขนส่งและการจราจรให้มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย ได้แก่ รายวิชาวิศวกรรมการทางและวิชาวัสดุการทาง


  • กลุ่มวิชาวิศวกรรมการก่อสร้าง (6 หน่วยกิต) เรียนเกี่ยวกับทฤษฎีและวิธีการในทางปฏิบัติของการบริหารโครงการก่อสร้างขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมไปถึง การประมาณและวิเคราะห์ราคาการก่อสร้าง ได้แก่ วิชาบริหารการก่อสร้างและวิชาการประมาณและวิเคราะห์ราคา


    2. รายวิชาเลือกบังคับ จำนวน 12 หน่วยกิต ได้แก่ รายวิชาซึ่งเป็นความรู้ขั้นสูงในสาขาต่างๆ ของวิศวกรรมโยธา เพื่อให้นิสิตที่สนใจสามารถเลือกเรียนได้ ตัวอย่างของวิชาในหมวดนี้ได้แก่ การออกแบบอาคาร การออกแบบสะพาน ธรณีเทคนิควิเคราะห์ วิศวกรรมขนส่งมวลชน การออกแบบสนามบิน เทคนิคการก่อสร้าง การวางแผนโครงการทางวิศวกรรมโยธา เป็นต้น นอกจากนี้ นิสิตสามารถเลือกเรียนจากรายวิชาที่เปิดสอนในภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ วิศวกรรมสำรวจและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เป็นรายวิชาเลือกบังคับได้ ซึ่งจะต้องเป็นไปตามประกาศของทางภาควิชาวิศวกรรมโยธา


    ตัวอย่างหัวข้อโครงงานทางวิศวกรรมโยธาในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา


  • พฤติกรรมของส่วนของโครงสร้างรับแรงดัดและแรงอัดเมื่อซ่อมแซมหรือเสริมกำลังด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์

  • ผลกระทบจากไฟที่มีต่อพฤติกรรมการรับแรงดัด และแรงเฉือนของโครงสร้างคานคอนกรีตเสริมเหล็ก

  • การพิจารณาการวิเคราะห์การออกแบบและการก่อสร้างสะพานพระราม 8

  • พฤติกรรมกำแพงกันดินเข็มพืดในการก่อสร้างฐานรากริมแม่น้ำเจ้าพระยา

  • การศึกษาพฤติกรรมการทรุดตัวของชั้นดินกรุงเทพมหานครจากการขุดเจาะ อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน

  • การเปลี่ยนแปลงอัตราการทรุดตัวของชั้นดินกรุงเทพฯ เนื่องจากการสูบน้ำบาดาล

  • การวิเคราะห์การควบคุมสัญญาณไฟจราจรด้วยวิธีควบคุมการจราจรเป็นพื้นที่

  • การจำลองสภาพการเดินรถประจำทางด้วยการจำลองการจราจร กรณีศึกษาบนถนนเพชรบุรี

  • การวิเคราะห์กระบวนการจัดจ้างงานก่อสร้างของงานราชการ

  • วิศวกรรมงานระบบและการประสานงานในงานก่อสร้างอาคารสูง

  • การศึกษาการจัดองค์กรและการควบคุมการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่


  • จบแล้วทำอะไร

    การประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรมโยธา

         หน่วยงานราชการ
  • กรมโยธาธิการ

  • กรมทางหลวง

  • สถาบันการศึกษา


  • ฯลฯ (หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง)
         หน่วยงานเอกชน

  • งานออกแบบ

  • งานรับเหมาก่อสร้าง

  • งานให้คำปรึกษา

  • งานส่วนตัว


  • ข้อมูลจาก



    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น